HPE Computer Workload powered by AMD EPYC

HPE Computer Workload powered by AMD EPYC

โซลูชั่นที่ตอบโจทย์ความต้องการในยุค Digital Transformation ที่มีความปลอดภัยสูง รองรับการขยายได้ ด้วยขุมพลังจาก AMD EPYCTM Processor

จากวิกฤต Covid-19 ที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และการดำเนินธุรกิจ ทำให้เกิดการปรับตัวเข้าสู่ระบบดิจิตอลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยมีตัวแปรที่สำคัญได้แก่ งบประมาณ เวลา ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และคู่แข่งขัน ทำให้ธุรกิจมองหาโซลูชั่นสำเร็จรูปที่ตอบโจทย์ความต้องการภายใต้งบประมาณที่จำกัด แต่ต้องมีประสิทธิภาพ น่าเชื่อถือ และคุ้มค่า

Hewlett Packard Enterprise (HPE) ผู้ให้บริการด้าน IT ในระดับ enterprise ที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า โดยมียอดขายสูงสุด1 ร่วมกับ AMD ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำด้านหน่วยประมวลผลอย่าง AMD EPYCTM Processor ที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าในทุกระดับ ในการออกโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ณ ปัจจุบัน อันได้แก่

  1. Virtual Desktop Infrastructure (VDI): โซลูชั่นทีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยให้พนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ขององค์กร ได้ใช้งาน application หรือเข้าถึงฐานข้อมูลบริษัท ตามสิทธิ์ที่มี ด้วยคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่อย่าง Tablet หรือ Smart Phone ได้จากทุกที่ผ่าน Internet อย่างปลอดภัย ซึ่ง server ที่เหมาะสมควรมี CPU core และรองรับ memory ได้จำนวนมาก เพื่อรองรับการสร้าง virtual desktop สำหรับผู้ใช้งานจำนวนมากได้ ทำให้คุ้มค่าต่อการลงทุน โดยเซิร์ฟเวอร์ที่เหมาะกับงานนี้มี 2 รุ่นคือ
  • HPE ProLiant DL325 Gen10 Plus v2 Server เป็นเซิร์ฟเวอร์ขนาด 1U2: 1 CPU แต่มีจำนวน CPU core เทียบเท่าเซิร์ฟเวอร์คู่แข่งที่มี 2 CPU ช่วยให้ประหยัดค่า software license
  • HPE ProLiant DL365 Gen10 Plus Server เป็นเซิร์ฟเวอร์ขนาด 1U2: 2 CPU แต่มีจำนวน CPU core เทียบเท่าเซิร์ฟเวอร์คู่แข่งที่มี 2 CPU จำนวน 2 เครื่อง รองรับ Memory ความเร็วสูงได้มากถึง 8TB นอกจากประหยัดค่า software license ยังประหยัดพื้นที่ และค่าไฟใน data center ได้อีกด้วย
  1. Data Management and analytics: ระบบจัดการ และวิเคราะห์ข้อมูล ถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานในปัจจุบัน จึงต้องการระบบที่มีความปลอดภัยสูง มีความรวดเร็ว และรองรับการจัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก HPE ProLiant DL345 Gen10 Plus Server จึงเป็นทางเลือกที่คุ้มค่า เนื่องจากเป็นเซิร์ฟเวอร์ขนาด 2U2: 1 CPU ที่มี CPU ความเร็วสูงให้เลือก อีกทั้งรองรับ disk รุ่นใหม่ความเร็วสูงอย่าง NVMe ได้ถึง 24 ชุด จึงรองรับการเขียนอ่านข้อมูลได้รวดเร็ว ในปริมาณที่มาก
  2. Big Data Analytics: เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบใหม่ที่มีจำนวนมาก ที่ไม่เป็นเพียงการหาผลลัพธ์จากข้อมูลที่มีอยู่ แต่อาจเป็นการหาผลลัพธ์ในรูปแบบใหม่ที่แตกต่างกันออกไป เช่น การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคด้วยค่าสถิติ เป็นต้น ซึ่งต้องการเซิร์ฟเวอร์ที่มี CPU ความเร็วสูง มี CPU Core และรองรับ memory ได้จำนวนมาก มีช่องทางการถ่ายโอนข้อมูล และต้องมีค่าความหน่วง (latency) ต่ำ HPE ProLiant DL385 Gen10 Plus v2 Server จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสม ด้วยขนาด 2U2: 2 CPU ที่มี CPU ความเร็วสูงให้เลือก รองรับ Memory ความเร็วสูงได้มากถึง 8TB และรองรับ disk รุ่นใหม่ความเร็วสูงอย่าง NVMe ได้จำนวนมากเป็นต้น
  3. Artificial Intelligent (AI)/ Machine Learning (ML): เป็นระบบที่มีความอัจฉริยะ ที่เกิดการเรียนรู้จากฐานข้อมูลจำนวนมาก ในรูปแบบที่ซ้ำๆ กัน โดยมีความมุ่งหวังให้เครื่องจักร หรือคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ เช่น พวก AI Chatbot, รถที่ขัดเคลื่อนเองได้ หรือระบบวิเคราะห์และจดจำใบหน้าเป็นต้น ซึ่งต้องการ CPU ประสิทธิภาพสูง รองรับ Memory ความเร็วสูงได้จำนวนมาก และต้องรองรับ Accelerator Card อย่าง GPU หรือ FPGA จำนวนมากเพื่อคำนวนค่าทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนได้อีกด้วย โดยมีเซิร์ฟเวอร์ที่เหมาะกับงานนี้ด้วยกัน 2 รุ่นคือ
  • HPE ProLiant DL385 Gen10 Plus v2 Server เป็นเซิร์ฟเวอร์ขนาด 2U2: 2 CPU รองรับ CPU ความเร็วสูง รองรับ Memory ความเร็วสูงได้มากถึง 8TB และรองรับ GPU/ FPGA Card รุ่นใหม่ๆ ได้มากถึง 8 ชุดด้วยกัน
  • HPE Apollo 6500 Gen10 Plus เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่รองรับ AMD EPYCTM ได้ 2 CPU แต่รองรับ GPU ประสิทธิภาพสูงอย่าง AMD Instinct MI100 ได้มากถึง 10 ชุด หรือ NVIDIA ได้ถึง 16 ชุด เป็นต้น
  1. High Performance Computing: ระบบประมวลผลประสิทธิภาพสูง เหมาะสำหรับใช้ในด้านงานวิจัย อันได้แก่ การวิจัยยารักษาโรค, การวิเคราะห์องค์ประกอบของไวรัส, การประมวลผลแบบจำลองภูมิอากาศ เป็นต้น โดยมีเซิร์ฟเวอร์ที่เหมาะกับงานนี้ด้วยกันหลายรุ่นเช่น
  • HPE Apollo 2000 Gen10 Plus ซึ่งมี Chassis แบบ rack type ขนาด 2U2 แต่ใส่ compute node (server) ได้มากถึง 4 ชุด โดยแต่ละชุดประกอบด้วย 2 CPU ทำให้ประหยัดพื้นที่ได้มากถึง 2 เท่า เมื่อเทียบกับ rack server ทั่วไป หรือเทียบเท่า server ของคู่แข่งที่มี 2 CPU ถึง 8 เครื่อง เนื่องจากรองรับ CPU core ได้ถึง 128-core ต่อ server เป็นต้น
  • HPE Cray EX Supercomputer เป็นคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง ที่ใช้ในงานวิจัยระดับโลก รองรับ CPU และ GPU ได้จำนวนมาก ให้ประสิทธิภาพการทำงานในระดับ Exascale โดยใช้ของเหลวเป็นตัวนำพาความร้อน (liquid cool) ทำให้ใช้พลังงานได้อย่างคุ้มค่า ในพื้นที่จำกัด
  • นอกจากนี้ HPE ยังโซลูชั่นอื่นๆ ที่ใช้ AMD EPYCTM Processor ได้แก่
    • HPE Simplivity: Hyperconverged Infrastructure (HCI) ที่เรียบง่าย แต่ชาญฉลาด ด้วยการรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ทำให้เป็น HCI ในตลาดรายเดียวที่เริ่มต้นการใช้งาน 1 Node พร้อม Local Data Protection ป้องกันข้อมูลสูญหาย และให้มาพร้อมการสำรองข้อมูลป้องกันภัยคุกคามทาง Cyber ที่มีความเร็วการันตีอยู่ที่ 1TB ต่อนาที ลูกค้าสามารถได้ตั้งแต่ Remote Office/Branch Office ไปจนถึง Datacenter ภายในเทคโนโลยีประกอบด้วย Software Defined Storage, VMWARE Virtualization แบ่งเบาภาระผู้ดูแลโดยการใช้ AI Cloud Monitoring
    • HPE Nimble dHCI: เป็นอีกประเภทหนึ่งของ HyperConverged ที่เน้นแก้ปัญหาระบบ HCI ดั้งเดิม ปัญหาหลักที่เหล่าธุรกิจองค์กรในการใช้งาน HCI ก็คือการที่ระบบ HCI จะต้องมีการเพิ่มทั้ง Compute และ Storage ไปพร้อมกัน ทำให้ในการใช้งานจริงนั้นเมื่อทรัพยากรหมดเพียงแค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ภาคธุรกิจก็ต้องลงทุนเพิ่มขยายระบบทั้งสองส่วนไปด้วยกันอย่างไม่มีทางเลือก

    วัตถุประสงค์หลักการออกแบบ dHCI ยังคงให้ประสบการณ์การใช้เหมือน HCI โดยนำข้อดีด้านความง่ายในการบริหารจัดการ, ดูแลรักษา และเพิ่มขยายของ HCI มาใช้ แต่ยังแก้ปัญหาของ HCI โดยสามารถขยายทรัพยากรได้เป็นอิสระ ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น และ ให้การบริการ (SLA) ได้ถึง 99.9999%

    AMD ได้เปิดตัวโปรเซสเซอร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ AMD EPYC™ 7003 Series เมื่อมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา ช่วยให้ลูกค้ากลุ่ม HPC, ผู้ให้บริการคลาวด์ และลูกค้าองค์กรทำงานได้มีประสิทธิภาพ และรวดเร็วยิ่งขึ้น ภายใต้สถาปัตยกรรม Zen 3 จำนวนสูงสุด 64 คอร์ต่อโปรเซสเซอร์ รองรับ Memory ความจุรวมถึง 4TB ต่อโปรเซสเซอร์ รองรับ PCIe 4.0 และได้รวบรวมฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยที่ล้ำสมัยอย่าง AMD Infinity Guard และฟีเจอร์ใหม่ที่ชื่อ Secure Encrypted Virtualization-Secure Nested Paging (SEV-SNP) ขยายฟีเจอร์ SEV ที่มีอยู่ในโปรเซสเซอร์รุ่นก่อนหน้า เพิ่มความสามารถที่ยอดเยี่ยมด้านการป้องกันหน่วยความจำ เพื่อการโจมตี Hypervisor โดยการสร้างสภาพแวดล้อมแยกออกมา สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

    HPE ProLiant/ Apollo Servers ซึ่งเป็นผู้นำในตลาดเซิร์ฟเวอร์ และได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าในทุกระดับ เนื่องจากเป็นสถาปัตยกรรมแบบเปิดที่ทำงานร่วมกับ Application ได้หลากหลาย รวมทั้ง Hybrid Cloud โดยมีจุดเด่นหลักๆ 3 ประการคือ

    1. 360-degree security: ที่ผ่านมาองค์กรต่างๆ ให้ความสำคัญกับการป้องการการโจมตีทางไซเบอร์ในหลากหลายรูปแบบ โดย HPE ได้มองรอบด้าน 360 องศา ตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบในการผลิต จากแหล่งที่ตรวจสอบได้ ออกแบบและเขียนโค้ดเฟิร์มแวร์ พร้อมการเข้ารหัส ตรวจสอบโค้ดอย่างสม่ำเสมอระหว่างการใช้งาน เพื่อหาความผิดปกติ และพร้อมที่จะ recover เฟิร์มแวร์รุ่นก่อนหน้าที่มีความปลอดภัยได้โดยอัตโนมัติ รวมถึงการล้างข้อมูลทั้งหมดก่อนปลดออกจากระบบ ข้อมูลเพิ่มเติม click
    2. Workload optimization: เนื่องจากการออกแบบเซิร์ฟเวอร์เพื่อรองรับงานที่หลากหลาย จึงมีการเพิ่ม feature ที่เรียกว่า Workload Profiles ขึ้นเพื่อให้ง่ายในการปรับเปลี่ยน และติดตามประสิทธิภาพการใช้งาน
    3. Intelligent Automation: จากความต้องการที่ให้เซิร์ฟเวอร์ใช้งานง่าย และมีการจัดการแบบอัตโนมัติ HPE จึงได้พัฒนา HPE Infosight for Server ซึ่งเป็น AI แบบ Cloud based ที่ช่วยตรวจสอบการทำงาน พร้อมคาดการณ์ปัญหาที่จะเกิดขึ้นต่อเซิร์ฟเวอร์ล่วงหน้า เพื่อป้องกันระบบล่ม
    4. As-a-Service Experience: ภายใต้ชื่อ HPE GreenLake เพื่อนำประสบการณ์ Cloud มาสู่คุณในรูปแบบจ่ายเท่าที่ใช้ เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน (consumption-based model) เพื่อความยืดหยุ่นในการลงทุนทางด้านเทคโนโลยี ข้อมูลเพิ่มเติม click

     

    สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ HPE ไปที่ www.hybriditthailand.com หรือ hpesales.bbth@hpe.com

==============================================================================================

  1. จากการจัดอันดับโดย IDC: Server Market Share – Updated: 24 Sep 2021
  2. ขนาด 1U = ความสูง 75 นิ้ว
ลงทะเบียนเพื่อแจ้งความประสงค์ขอข้อมูล